ว่าที่ ร.ท.สุเวศ กลับศรี

อดีตผู้อำนวยการ สพป.หนุนขึ้นค่าอาหารกลางวันตามจริง

ว่าที่ ร.ท.สุเวศ กลับศรี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) นครศรีธรรมราช เขต 4 เปิดเผยว่า กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็กถึงชั้น ป.6 ของสถานศึกษาในทุกสังกัด ซึ่งมี 51,637 โรง จากปัจจุบันที่ได้รับในอัตรา 21 บาทต่อคนต่อวัน โดยปรับเพิ่มขึ้นในอัตราตามขนาดของโรงเรียน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

– โรงเรียนที่มีนักเรียน 1-40 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 36 บาทต่อคนต่อวัน

– กลุ่มที่สอง โรงเรียนที่มีนักเรียน 41-100 คน ได้รับ 27 บาทต่อคนต่อวัน

– กลุ่มที่สาม โรงเรียนที่มีนักเรียน 101-120 คน ได้รับ 24 บาทต่อคนต่อวัน และ

– กลุ่มสุดท้าย โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 121 คนขึ้นไป ได้รับ 22 บาทต่อคนต่อวันนั้น

เห็นด้วยที่เพิ่มค่าอาหารกลางวัน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อได้ค่าอาหารกลางวันในอัตราที่มากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ จะทำให้โรงเรียนขนาดเล็กบริหารจัดการอาหารกลางวันได้ง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมาโรงเรียนขนาดเล็กบริหารจัดการอาหารกลางวันยากมาก

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ

ว่าที่ ร.ท.สุเวศกล่าวต่อว่า การเพิ่มค่าอาหารกลางวันเป็น 36 บาทต่อคนต่อวัน สำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียน 1-40 คนนั้น มองว่าการเพิ่มในอัตรานี้ เพียงพอที่จะทำให้โรงเรียนอยู่ได้ เพราะที่ผ่านมาได้เพียง 21 บาทต่อคนต่อวัน แต่โรงเรียนจะต้องเตรียมวัตถุดิบทำอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และจ้างแม่ครัว ทำโรงเรียนบริหารจัดการยาก อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ พบว่ามีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนมากกว่า 40 คน มีจำนวนมากกว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 40 คน เพราะกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายบริหารจัดการโรงเรียนเล็ก โดยสร้างโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เพื่อให้โรงเรียนใกล้เคียงที่มีครูไม่ครบชั้น และมีจำนวนนักเรียนน้อย มาเรียนรวมกัน แต่โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียน 41-100 คน ได้รับค่าอาหารกลางวันเพิ่มเป็น 27 บาท มองว่าอาจไม่เพียงพอ อยากให้เพิ่มเป็น 30-32 บาทต่อคนต่อวัน คิดว่าเพียงพอต่อการบริหารจัดการ

“อยากให้ ศธ.และหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน เร่งรัดการติดตามด้านคุณภาพของอาหารกลางวันของเด็กด้วย คือต้องมีระบบการติดตาม มีการรายงานที่ชัดเจน และอาหารที่จัดให้กับเด็กนั้น ต้องมีคุณภาพจริงๆ เพราะจากที่ผมเคยออกไปกำกับติดตาม พบโรงเรียนบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นคุณภาพ และสารอาหารเท่าไหร่นัก ซึ่งจะทำให้เด็กด้อยโอกาสมากยิ่งขึ้น” ว่าที่ ร.ท.สุเวศ กล่าว

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการเพิ่มค่าอาหารกลางวัน เพราะเป็นการเพิ่มโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริง ปัญหา ความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ เพราะการให้เงินในอัตรา 21 บาทต่อคนต่อวัน เท่ากันทุกโรงเรียน เป็นการสนับสนุนแบบถ้วนหน้า เป็นการช่วยเหลือแบบไม่มีข้อมูลที่แท้จริง คือไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริง ปัญหา และความต้องการ ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กสูญเสียการสนับสนุนจากรัฐมาโดยตลอด

“ดังนั้น ค่าอาหารกลางวันแม้จะเป็นการให้ แต่เป็นการให้ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น การปรับค่าอาหารกลางวันครั้งนี้ ได้คืนความเป็นธรรม คืนความอิ่ม คืนหลักการ และความถูกต้อง ให้เด็กยากจน เด็กด้อยโอกาส ต้องยกย่อง รัฐบาล ศธ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และสำนักงบประมาณที่ผลักดันเรื่องดังกล่าว” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ debbieconacher.com

UFA Slot

Releated